asura uma 046

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

(วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ,2542:53)ได้กล่าวว่า รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน เป็นขยายแนวความคิดจาก Hy pretext อันเป็นมามาจากพัฒนาของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน

(ภิดานันท์ มลิทอง 2540:269)กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนเป็นเทคนิคขยายความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรงและมีเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกที่เป็นภาพนิ่งและเป็นภาพเคลื่อนไหวภาพสามมิติ ภาพถ่ายเสียงพูด เสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม

(Heinich and others,2002, p. 244) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน คือ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้องค์ประกอบของข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดิทันศ์และเสียง เชื่อมโยงเข้าด้วยกันในวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศไว้โดยง่าย

น้าทิพย์ วิภาวิน (ไม่ระบุ) ได้กล่าวว่า สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนเป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆได้ทั้งข้อความเสียง และภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

สรุปได้ว่า สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความเร็ว


บรรณานุกรม

Http://www.google.co.th /scarch? Hl=th 8 source =hp8q

กิดานันท์ มลิทอง. สื่อหลายมิติในการจัดการเรียนการสอน.- - กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. 269หน้า.
www.edu.buu.ac.th/joral /. . ./link -jounal % 20 edu_18_1_3.

http:// school.obec. go.th/sup_br 3/t_1.htm.
9. สื่อประสม คืออะไร

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523:115) ให้ความหมายว่า สื่อประสมเป็นการนำสื่อการสอนหลายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน
อีริคสัน(Erickson.1965:11) สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆอย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจเพื่อเร้าความสนใจ
วารินทร์ รัศมีพรหม (2531:117) สื่อประสม คือ การรวบรวมเอาวัสดุเพื่อการเรียนการสอนที่ประกอบด้วยสื่อมากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไป มาจัดระบบไว้อย่างต่อเนื่องกันในการสอนเนื้อหาวิชาเรื่องเดียว
- สื่อประสมบางชุดอาจออกแบบเพื่อใช้ในการสอน
- และบางชุดอาจใช้เพื่อการเรียนด้วยตนเองหรือเรียนในกลุ่มเล็กๆ

ระมิต ฝายรีย์ (2521:5) สื่อประสม คือ เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภท มาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำ วิดีทันศ์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย การใช้สื่อประสมผู้เรียนและสื่อจะไม่ปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันและจะมีลักษณะเป็นสื่อหลายแบบ

สรุปได้ว่า สื่อประสม คือ การนำเอาสื่อหลายๆรู)ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน


บรรณานุกรม

วาสนา ชาวหา.เทคโนโลยีทางการศึกษา.สำนักพิมพ์กราฟิกอาร์ต 2525,161หน้า.

วารินทร์ รัศมีพรหม (2531) สื่อการสอน เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย, 2531.117หน้า.

http://www.naiwiang.org/thik. htm.
8. สื่อการสอน คืออะไร

สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534,42)กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ช่วยกระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู้เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งวิธีสอนและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

เปรื่อง กุมุท(เปรื่อง กุมท,2519:1)กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้คำสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี

(Percival and Ellington 1984;185) สื่อการสอนหมายถึง สิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้อย่างดี

มนตรี แย้มกสิกร(2537:5) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงตัวกลางที่ช่วยในการนำความรู้จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมตามที่ต้องการ

สมพร จารุนัฏ(2540:2) กล่าวว่าสื่อการสอน คือ สิ่งที่นำเสนอสิ่งเร้าที่นำมากระตุ้นให้เกิดการเรียนแก่ผู้เรียน

สรุปได้ว่า สื่อการสอน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู้เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัตถุสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นมา


บรรณานุกรม


ชาญชัย ยมดิษฐ์. เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. - - กรุงเทพฯ:หลักพิมพ์,2548. 504หน้า.

วาสนา ชาวหา.การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมปีที่6 จากชุดการสอนที่วิเคราะห์ระบบกับไม่วิเคราะห์ระบบ ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 2520 ,96 หน้า.

กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย.- - กรุงเทพฯ:พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2531.181.

เปรื่อง กุมุท.การวิจัยสื่อและนวัตกรรมการสอน.2537 ,141หน้า อัดสำเนา
7. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง แต่ละอย่างเป็นอย่างไร

ปทีป เมธาคุณวุฒิ , 2544 ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสารสื่อสาร มาใช้เพื่อการลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำหรับในการตอบสนองโยบาย การศึกษาที่เป็น การศึกษาเพื่อประชาชน ที่จะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ที่สำคัญนั้น คือ การเรียนการสอนทางไกลที่ทำให้ผู้เรียนในที่ห่างำไกลที่ทำให้ผู้เรียน ในที่ห่างไกลในชนบทที่ด้อยโอการเท่าเทียมกับผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ ในเมืองรวมทั้งการที่ผู้เรียนมีโอการสที่ถึงแหล่ง ข้อมูลของโลก ผ่านทางเครื่องข่ายอินเตอร์เน็ต

ถนอมพร เลาหจรัสแสง , 2542 ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การที่ผู้เรียนรู้โดยสาสารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนสื่อ ซีดี รวมเพื่อตามให้ทันเพื่อน ผู้เรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพ ในการเรียนได้มากขึ้น

http : // www. Cdu.nu.ac.th /aupanees /lesson /366515 / unit 2-po1. html
ได้กล่าวว่า การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นได้คำนึงถึงระดับการสร้าง ทักษะพื้นฐาน การสร้างผู้สองที่มีความรู้ทีจะใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารประกอบการเรียนการสอน การสร้างผู้มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่างๆเพื่อที่จะนำไปสู่การคิดคัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สารสนเทศ และที่จำเป็นมากสำหรับประชาชนทั่วไป คือ การสร้างทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์

สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์ วิดีโอ โปรเจคเตอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แบบต่างๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้

บรรณานุกรม

http://www. Csjoy.com / story /net /tne.htm # b.

http://www. Forun. Datatan.net / index.php? topic = 126.0

http://www.edu. Nu.ac.th / supanees / lesson /366515 /unit 2_pol.
6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

http:// grur . google.co.th/guru/thread.(ไม่ระบุ) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์การเก็บรวบรวมข้อมูล

http:// siriwadee.dlogspot.com/2008/05/dlog-post_27.html
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนาและการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

http:// www.yupparaj.ac.th/room net 2545/activity/c2-3.htm
ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหาวิเคราะห์ประมวลผล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพรสื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียงตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุของผู้ใช้

สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดกาสารสนเทศ โดยใช้ในการจัดหาวิเคราะห์ ประมวลจัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้าง รายงาน และการเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูปเสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

บรรณานุกรม

http: // guru .google. co.th /guru / thread

http: // siriwadee . dlogspol . com / 2008 / 05 / blcg – post _27. htm

http: // www. Yupparaj . ac. Th / pcom net 2545 / activigl / c2-3.html
5. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

กัลเบรท (Galbraith 1967:12) ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี คือเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆ ที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู้ผลปฏิบัติ

เดล(Dale 1965:610) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือและกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลองและได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว

ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539:76) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และพจนานุกรมเว็บสเทอรส์ แล้วเห็นได้ว่า คำนิยามในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน มีความหมายแคบกว่าความหมายที่ยอมรับกันทั่วไปในเหล่านี้และหากนำคำนิยามทั้งสองมาแยกเป็นข้อๆ แล้วจะได้รายละเอียดเพิ่มขึ้นว่าเทคโนโลยีนั้นหมายถึง
1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
4. กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5. ศิลปะ และทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ

สรุปได้ว่า เทคโนโลยีเป็นการทำงานโดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นให้มีผลดีมากยิ่งขึ้น


บรรณานุกรม

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.- -พิมพ์ครั้งที่2.- -กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2543. 367 หน้า.

Dale,Edger.Audio-Visual Methods in Teaching.2nd ed. New York:Holt,Rinehart and Winston,1965

ควรชิต มาลัยวงศ์.ก้าวไกลกับคอมพิวเตอร์.กรุงเทพมหานคร:บริษัท ซีเอ็ดยูเคชัน จำกัด,2539.
4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

นวัตกรรมทางการศึกษา(หน้า 14: นวัตกรรม) หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆในการศึกษา ซึ่งแปลดไปจากเดิมโดยอาจได้มาจากการค้นพบวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในการปฏิบัติ และสามารถทำให้ ระบบการศึกษาดำเนินไปสู้เป้าหมาย

(http://gift2a 97.blogpost.com/ 2009/ 02/ blog-post .html ) กล่าวว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(http://tikkatar.is.in.th/?=content&id=1) กล่าวว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สื่อ แนวคิด วิธีการ กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร

บุญเกื้อ ควรหาเวช 2542:14 ได้กล่าวถึง นวัตกรรมการศึกษากล่าวไว้ว่า เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สรุปได้ว่า นวัตกรรมการศึกษา เป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้การเรียนการสอนมีสิ่งใหม่ๆ ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผลสูงกว่าเดิมเกิดแรงจูงใจในการเรียนและประหยัดเวลา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


บรรณานุกรม

http:// ceit. Sut.ac.th/ km/wordpress/? P=138

(http://gift2a 97.blogpost.com/ 2009/ 02/ blog-post .html )

(http://tikkatar.is.in.th/?=content&id=1)

สาโรช โศภีรักข์. นวัตกรรมการสอนที่ยืดผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ:บุ๊ค พอยท์,2546.148 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1:กันยายน 2546
3. นวัตกรรม คืออะไร

กิดานันท์ มลิทอง (2540:245) กล่าวถึง นวัตกรรมไว้ว่า เป็นแนวคิดการปฎิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีการใช้มาก่อน หรือมีการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ผลดีขึ้น

สุฦากร ราชากรกิจ (2537:59) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมว่า เป็นการปฏิบัติหรือกรรมวิธี ที่นำวิธีการใหม่ๆมาใช้หรือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง วิธีทำสิ่งต่างๆให้ดีกว่าเดิม

สวัสดิ์ บูษปาคม(2517) กล่าวว่า นวัตกรรมหมายถึง การปฏิบัติหรือกรรมวิธีการใหม่มาใช้หรือการกระทำการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิม คือทำให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม

(http://learners.in.th/blog/22631/235365) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ วิธีการใหม่หรือสิ่งมาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม หรือสิ่งเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงดียิ่งขึ้น

บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542:12) กล่าวว่า นวัตกรรม คือนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น


สรุปได้ว่า นวัตกรรมหมายถึง การนำวิธีใหม่ๆ เข้ามาใช้และเปลี่ยนแปลงวิธีเดิมกลับมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพหรือนำวิธีการ ที่คิดว่าไม่ใช้แล้ว กลับมาเริ่มพัฒนาขึ้นใหม่แล้วใช้ได้อีกครั้ง เพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพของนวัตกรรมใหม่มีประโยชน์และมีคุณค่าตลอดจนให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจพอเพียง


บรรณานุกรม

สาโรช โศภีรักข์.นวัตกรรมการสอนที่ยืดผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ:บุ๊ค พอยท์,2546.148หน้า. พิมพ์ครั้งที่1:กันยายน 2546.

เปื่อง กุมุท. นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ:2517.

(http://learners.in.th/blog/22631/235365)
2. มีทฤษฎีอะไรบ้างเกี่ยวกับการเรียนการสอน และแต่ล่ะทฤษฎีเป็นอย่างไร

-มีทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์
Charles Darwin (2551:176) ได้กล่าวถึง เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์สามารถเกิดขึ้นได้โดย การที่ผู้เรียนเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และสามารถควบคุมกระบวนการและทิศทางการเรียนรู้ของตนเอง การจัดประสบการณ์ในการเรียนโดยให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาจากการปฏิบัติ ปัญหาทางสังคม ปัญหาส่วนตัว และการประเมินตนเอง

-ทฤษฎีการเรียนรู้จากสถานการณ์
J. Lave (2551:178) ได้กล่าวถึง เป็นการเรียนจากสภาพปกติที่เป็นสถานการณ์ โดยปฎิบัติ สัมพันธ์ทางสังคม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้จากสถานการณ์ที่ผู้เรียนเข้ามาเกี่ยวข้อง และร่วมดำเนินการ การเรียนรู้ประกอบด้วยการแสวงหาความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ การเรียนรู้จากสถานการณ์โดยปกติเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจมากกว่าการเป็นความตั้งใจหรือเจตนาทำให้เกิด จึงเป็นกระบวนการของการเรียนรู้โดยการเข้าไปมีส่วนรวม

-ทฤษฎีการเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์
Jack D. Mazirow (2551:187) หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเป็นกระบวนการที่บุคคลปรับเปลี่ยนกรอบความคิดที่เคยยึดถือ มาเป็นไปมโนทัศน์ใหม่ที่มีความครอบคลุ่มกว่าเดิม เปิดกว้างมีความชัดเจน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกสำนึกคิด ความคิดความเชื่อนี้ได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมและสามารถเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป


สรุปได้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ คือ ข้อความรู้ที่พรรณนาอธิบาย ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับเชื่อถือได้ และสามารถนำไปใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้


บรรณานุกรม

วรรัตน์ อภินันท์กูล. แนวคิดและทฤษฎีที่น่ารู้ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน.- - กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551. 272 หน้า.


Lave,J. Stituted Learning. http:// www.psychlogy.org /lae.htm


Mezirow , Jack D. Transformative Dimensions of Adult Learning SAN Francisco , CA: Jossey - Bass ,1991

Stitch,T.G. Fanctional Context.http://tip.psyshology.org/stich.html
1.ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

ดร. โกวิท วรพิพัฒน์ (2517:175) เป็นจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือคุณลักษณะคิดเป็น
วิธีการเรียนการสอนต้องมีประเด็นปัญหาเพื่อทำให้เกิดกระบวนการแก้ปัญหา

R. Gordon ได้กล่าวในปี ค.ศ. 1998 เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดที่ทุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดปัญญาอันส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาเองได้ นอกจากนี้การเรียนการสอนยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

Jack D. Mazirow เสนอทฤษฎีนี้ในปี ค.ศ. 1978 เป็นการเรียนรู้กระบวนที่บุคคลตีความหรือแปลความหมายจากประสบการณ์เก่าเพื่อการพัฒนา ทบทวน แล้วแปลความหมายของประสบการณ์นั้น และนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป

T.G. Sticht ได้กล่าวในปี ค.ศ. 1975 เป็นการเรียนรู้ในสิ่งที่สัมพันธ์กับประประสบการณ์ของผู้เรียนและในบริบทการทำงานของผู้เรียน การพยายามให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมที่มีอยู่


สรุปได้ว่า เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดให้เกิดการเรียนรู้ในการศึกษานอกระบบ โดยมุ่งการเสริมสร้างและนำความรู้ประสบการณ์ของผู้เรียนมาใช้ สอดคล้องกับความจำเป็น เรียนจากประสบการณ์มีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนั้นเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนที่มีวุฒิภาวะ มีความรับผิดชอบเพื่อสร้างให้เป็นผู้เรียนตลอดชีวิต


บรรณานุกรม

วรรัตน์ อภินันท์กูล. แนวคิดและทฤษฎีที่น่ารู้ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน.- - กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. 272 หน้า.

Gordon, R. A Curriculum for Authentic leaning. The Education Digest,63,4-8,1998

Mezirow,Jack D. Transions of Adut Lening San Francisco, CA: Jossey- Bass,1991.

Stitch, T.G. Fanctional Context. http:// tip. Psychology. Org / Stich.html.